วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Harvard has changed me

เพิ่งรู้สึกว่า เราเองก็เปลี่ยนไป หลังจากเรียนจบปริญญาโท (Harvard has changed me, in a good way!)

วันนี้เพิ่งได้ a-ha moment อีกครั้งหนึ่ง

ตอน ก่อนไปเรียนต่อ ได้ไปทำงานเป็นครูโรงเรียนมัธยมอยู่พักหนึ่ง ตอนนั้นจำได้ว่าชอบมากๆ ชอบความเป็นครู ชอบสอน ชอบที่ได้รู้จัก ได้ช่วยเหลือนักเรียน พอไปเรียนต่อปริญญาโทด้านการศึกษากับการพัฒนาสมอง ที่ฮาร์วาร์ดก็ยิ่งชอบไปใหญ่ ตอนที่เรียนอยู่ที่นั่น รู้สึกได้ถึงความเป็นครู อยากจะทำอะไรเพื่อการเป็นครูที่ดี

แต่ตอน นี้กลับมาเป็นครูอีกครั้งหนึ่ง กลับรู้สึกแปลกๆ จริงอยู่ที่ก็ยังชอบสอน ยังชอบอยู่กับนักเรียน แต่เรากลับรู้สึกว่าอะไรบางอย่างมันหายไป มันไม่สนุกเหมือนที่เคยเป็น มันไม่ตื่นเต้นเหมือนที่เคยสอนหนังสือเมื่อปีที่แล้ว เราก็เคยนึกว่าคงเป็นเพราะเรายังปรับตัวเข้ากับระบบโรงเรียน หรือกับสังคมนักเรียน สังคมครูที่นี่ไม่ได้ แต่ตอนนี้เพิ่งคิดได้แล้วว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น

วันนี้เพิ่งรู้สึก ว่า เราเองอาจจะเปลี่ยนไป หลังจากที่ไปเรียนที่ฮาร์วาร์ดมา ตอนอยู่ที่นู่น เราได้เจออะไรแปลกๆใหม่ๆ ความรู้ความคิดใหม่ๆ ที่ล้วนแต่ท้าทายความคิดสติปัญญา (intellectually challenging) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราชอบการเรียนที่นั่นมาก เพราะเราเป็นคนชอบอ่าน ชอบคิด ชอบค้นคว้า ซึ่งตรงนี้แหละที่อาจจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่นิ่งแล้วก็ได้

ก็ ไม่ใช่ว่าการเป็นครูจะเป็นงานที่ง่ายหรือไม่ท้าทายนะ มันเป็นงานที่ท้าทายและยากมากๆ ใครที่เคยเป็นครูก็คงจะรู้ดีว่ามันไม่ใช่งานง่ายๆเลย เราเองก็ยังชอบทำงานนี้อยู่ แต่คิดว่าแค่สอนอย่างเดียวคงไม่กระตุ้นต่อมอยากรู้ของเราในด้านที่เราอยาก รู้มากพอ เราอาจจะต้องหาอะไรอย่างอื่นมาทำ เพื่อสนองตัณหาความอยากรู้ของตัวเอง(ในด้านที่เราสนใจ)

ที่คิดว่า เป็น a-ha moment ก็เพราะว่าเราเองไม่เคยคิดเลยว่าเราเปลี่ยนไปในช่วงปีที่ผ่านมา เราอยู่กับตัวเรา เราเลยคิดว่าเราเป็นคนเดิม แต่ตอนนี้เพิ่งตระหนักแล้วว่า สำหรับตัวเราก่อนไปเรียนปริญญาโท อาจจะท้าทายกำลังดี ทำให้เราสนุก แต่พอตอนนี้เราอาจจะเปลี่ยนไปจนงานสอนมันไม่ท้าทายเราในสิ่งที่เราสนใจ จะเรียกว่าการเป็นครูไม่ท้าทายพอก็คงไม่จริงหรอก คงเป็นเพราะว่ามันท้าทายในสิ่งที่เราไม่ได้สนใจมากกว่า น่าจะเป็นเพราะว่าความสนใจเราเปลี่ยนไปพอสมควรในช่วงปีที่ผ่านมา

แต่ ก็ยังรักนักเรียนเหมือนเดิมนะ ยังไงก็ยังชอบทำงานกับนักเรียนมัธยมอยู่ เพราะมันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำตัญของชีวิต และเราก็สนุกที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า (แต่จะทำได้แค่ไหน ท่ามกลางสังคมแห่งการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย ก็คงอีกเรื่อง แต่อย่างน้อยก็ได้ทำล่ะ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น