วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Pay It Forward #1

Pay It Forward จ่ายให้คนต่อไป

ผมพยายามอย่างหนักแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
ของแม่สิ แม่ไปพูดกับยาย ทำดีกับยาย
มันเป็นเรื่องที่ทำยาก แต่ก็ดี เพราะยายมางานวันเกิดผม
ผมคิดถึงยายมาก ทำให้ "จ่ายต่อ" ไปถึงไหนๆ ได้
เพราะแม่ผม เพราะว่าเธอกล้าหาญ
ของผม... ไม่รู้สิ คนอาจจะกลัวอะไรอยู่ก็ได้
นี่ถ้าหากอะไรต่างไปจากเดิม โลกคงจะเป็นที่ที่น่าอยู่
ผมคิดว่ายากที่จะเปลี่ยน สำหรับคนที่ชินกับอย่างหนึ่ง
แม้ว่าจะเป็นสิ่งไม่ดี เขาก็เลยยอมแพ้
แล้วพอเขายอม ทุกคนก็เลยพ่ายแพ้
เวลาเช่นนี้ทำให้ผมเสียใจที่จะรายงานอะไร
มันก็ยาก คุณวางแผนล่วงหน้าไม่ได้ คุณต้องดูคนให้มากขึ้น
ดูแลเขาเพื่อพิทักษ์เขา เพราะว่าเขามักไม่เห็นสิ่งที่เขาต้องการ
เหมือนกับมีโอกาสให้ซ่อมอะไรที่ไม่ใช่จักรยานของคุณเอง
คุณช่วยซ่อมคน
* แทรเวอร์ แมคเคนนีย์ *

เวลานี้ สมควรอย่างยิ่งที่จะสืบต่อกระแส "จ่ายให้คนต่อไป" ที่แทรเวอร์ แมคเคนนีย์ สร้างไว้ในหนังเรื่อง Pay It Forward

แทรเวอร์ แมคเคนนีย์ เป็นเด็กชายอายุ ๑๒ ปี แม่ทำงานในร้านอาหาร กลับบ้านดึกดื่นค่อนคืนและตื่นสาย แทรเวอร์จึงต้องดูแลตัวเอง ในตอนต้นเรื่องไม่ได้กล่าวถึงพ่อของแทรเวอร์

วันแรกของการเรียนเกรด ๗ (ปีสุดท้ายในระดับประถม) แทรเวอร์ได้ช่วยเพื่อนคนหนึ่ง ไม่ให้ถูกนักเรียน ที่โตกว่ารังแก แสดงให้เห็นว่า เขามีจิตใจ ที่จะช่วยเหลือ คนอื่นอยู่แล้ว ยิ่งมีครูสังคมศึกษา ที่ชื่อ ซิมโมเน็ท แทรเวอร์จึงพัฒนาจิตสำนึกที่จะช่วยคนยิ่งขึ้นอีก

ในชั่วโมงแรก ครูซิมโมเน็ทถามนักเรียนว่า โลกมีความหมายอย่างไรต่อนักเรียน และโลกคาดหวังอะไรจาก
นักเรียน

เป็น คำถามที่ยากมากสำหรับนักเรียนประถม เด็กๆ ตอบได้ไม่ดีนัก แต่ท่านผู้อ่านดอกหญ้าคงตอบได้ชัดเจน และคงตอบได้ยาวขนาดเป็นความเรียงสำหรับคำถามต่อไปที่ครูซิมโมเน็ทคงไม่ได้ ตั้งใจถามให้นักเรียนตอบ แต่พูดเพื่อให้คิดว่า "ถ้าเธอโตขึ้น แล้วโลกทำให้เธอผิดหวัง ไม่ได้เป็นอย่างที่เธอคิด เธอจะทำอย่างไร"

การบ้านสำหรับชั่วโมงแรกของการเรียนคือ Think of an idea to change the world and put it into action เป็นการบ้าน ที่ท้าทาย และสร้างสรรมาก ครูให้เด็ก ๆ คิดหาวิธีที่จะเปลี่ยนแปลงโลก และที่สำคัญคือ ต้องนำความคิดนั้น ไปปฏิบัติด้วย (นี่แหละเป้าหมายปลายทางของการศึกษา)

เด็ก ๆ บอกว่า ยาก ไม่มีคนช่วย แปลก และบ้า ครูก็เลยแนะให้คิดถึงคำว่า possible แล้วก็ถามว่า ความเป็นไปได้อยู่ที่ไหน

แทรเวอร์ ลูกศิษย์ตัวน้อยถามครูว่า ครูทำอะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงโลก (ถ้าเป็นครูไทย จะคิดว่า เด็กย้อน หรือเปล่านะ) ครูบอกว่า ครูมาตรงเวลา แล้ว ก็สอนพวกเธอ

แทรเวอร์ทำการบ้านชิ้นนี้ด้วยการช่วยเจอร์รี่ ชายจรจัดคนหนึ่ง พาเขามากินอาหารที่บ้าน และสละ เงินออมของ ตัวเองให้

พอมีเงิน ก็ไปซื้อเสื้อผ้าใส่สำหรับไปสมัครงาน เจอร์รี่ก็เลยมีงานทำ วันหนึ่งเขาแอบมาซ่อมรถ ที่บ้าน ของแทรเวอร์ แม่มาเจอเข้า เขาก็เลยเล่าเรื่อง ที่แทรเวอร์ช่วยเขา แล้วเขาก็อยาก จะช่วยซ่อมรถให้ แทรเวอร์ ขอให้ตอบแทน ด้วยการช่วยคนอื่นต่อไป ๓ คน แม่สังเกตเห็นรอยฉีดยาที่แขน จึงทักว่า จะเลิกยา เสพติดได้หรือ เขาเชื่อมั่นว่า เลิกได้

แต่แล้วเขาก็กลับไปเสพยาอีก

แทรเวอร์ขีดชื่อเจอร์รี่ออกจากแผนการเปลี่ยนแปลงโลก

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนเจอร์รี่ไม่ได้เสียทีเดียว วันหนึ่งขณะที่เดินข้ามสะพาน เจอร์รี่กำลังคิดว่า จะไปหายา ที่ไหนมาเสพ มีผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังจะกระโดดน้ำตาย เขาตรงเข้าไปช่วยเธอ พูดโน้มน้าว ให้เธอเปลี่ยนใจ บอกเธอว่า เขาก็ลำบาก เหมือนกัน ขอให้เธอช่วย (คนเราถ้าคิดถึงคนอื่นบ้าง ความทุกข์ของตัวเอง ก็เบาบางลง)

คนต่อไปที่แทรเวอร์จะช่วย คือ ครูซิมโมเน็ท ครูมีรอยแผลเป็นเต็มหน้า แทรเวอร์ไม่ได้รับคำตอบ จากครู ว่าเป็นอะไร แผนการของแทรเวอร์ ก็คือชักนำให้ครู มาสนิทสนมกับแม่ แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะพ่อกลับมา สัญญากับแม่ว่า จะเลิกดื่มเหล้า แม่ก็เหมือนผู้หญิงทุกคน ให้โอกาส เหมือนแม่ของ ครูซิมโมเน็ท สามีเมา ทำร้ายลูกเมีย ซิมโมเน็ท ออกจากบ้าน ตอนอายุ ๑๓ สามปีต่อมา เขากลับไปหาแม่ จะรับแม่ไปอยู่ด้วย พ่อโกรธมาก ตีท้ายทอยลูก หมดสติ ราดน้ำมัน แล้วจุดไฟเผาลูก เป็นเหตุให้ครูซิมโมเน็ท มีแผลเป็น เต็มตัว และ ไม่มีวันที่จะลืม สายตาสะใจ ของพ่อ ที่ซิมโมเน็ท ได้สติตื่นขึ้นมาเห็น ก่อนถูกเผาทั้งเป็น

ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่โหดร้าย ครูจึงโกรธแม่ของแทรเวอร์มาก ที่ยอมรับสามีเข้าบ้าน เพราะครู ไม่เชื่อว่า เขาจะไม่ตีแทรเวอร์

แล้ววันหนึ่ง พ่อของแทรเวอร์ก็แสดงธาตุแท้ ให้แม่รู้ว่า พลาดไป ที่รับเขาเข้าบ้าน แม่จึงตัดสินใจขอ (กึ่งไล่) ให้พ่อ ออกจากบ้านไป

แทรเวอร์ขอร้องครูซิมโมเน็ทให้ช่วยแม่ เพราะแม่พลาดไปแล้ว และคิดว่า ครูคงไม่ให้อภัย ครูบอกว่า เป็นเรื่องยาก แทรเวอร์บอกว่า เพราะเป็นเรื่องยาก ครูถึงต้องทำ "เพื่อการบ้านของผม เพื่อผม" ฉากนี้ เป็นฉากที่ น่าประทับใจมาก เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์ทางใจ ระหว่างครูกับศิษย์ ครูอยาก จะช่วยลูกศิษย์ แต่ลูกศิษย์ ขอสิ่งที่ทำได้ยากเหลือเกิน ลูกศิษย์ก็รักครูมาก เมื่อครูแสดงอาการ ให้รู้ว่า คำขอร้อง ไม่เป็นผล ก็เลยผิดหวัง ถึงกับหลั่งน้ำตา ครูก็ได้แต่บอกว่า ครูจะรักเธอตลอดไป

เด็กที่แสดงเป็นแทรเวอร์แสดงได้ดีมาก ด้วยสีหน้า ของเด็กช่างคิด คำพูดฉลาดฉาดฉาน จิตใจดี พูดแบบ ชาวพุทธ ก็ต้องว่าเป็นเด็กมีบุญ มีครูดี ชี้แนะให้รู้จัก คิดสร้างสรร ทำประโยชน์แก่สังคม มีแม่ที่รัก เอาใจใส่ ห่วงใย

น่าเสียดาย เด็กดี ๆ แต่อายุสั้น

ก่อนจะเสียชีวิต มีนักข่าวมาสัมภาษณ์แทรเวอร์ ออกรายการโทรทัศน์ เพราะกระแส Pay It Forward หรือ "จ่ายให้ คนต่อไป" แพร่ไปในหลายรัฐ ของสหรัฐอเมริกา แทรเวอร์คิดว่า เป็นผลงานของแม่ เพราะแม่ ช่วยยาย แล้วยาย ก็ช่วยคนอื่นต่อไป คนที่ยายช่วย ก็ช่วยคนอื่นต่อไปอีก คนละ ๓ แทรเวอร์ไม่รู้ว่า เจอร์รี่มีส่วน ในการแพร่ กระแสนี้ด้วย ที่สำคัญ แม่ก็ได้รับอิทธิพลความคิด จากแทรเวอร์นั่นเอง

ถ้อยคำของแทรเวอร์ที่พูดในโทรทัศน์ เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ และสำหรับ คนที่ยอมแพ้ไปแล้ว ถ้อยคำนี้ ช่างบาดใจนัก
"ผมคิดว่ายาก ที่จะเปลี่ยน สำหรับคนที่ชินกับอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นสิ่งไม่ดี เขาก็เลยยอมแพ้ แล้วพอ เขายอม ทุกคนก็เลยพ่ายแพ้"

แทรเวอร์เสียชีวิตเพราะเข้าไปช่วยเพื่อนที่ถูกรุมทำร้าย ช่วยเพื่อนได้ แต่ตนเองถูกแทง ผู้คนจาก ทุกสารทิศ ถือโคมไฟ มาเคารพศพ แทรเวอร์

ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ไม่อยากให้เป็นแค่หนัง อยากชวนท่านผู้อ่าน Think of an idea to change the world and put it into action ความคิดที่ดี และการลงมือทำ เป็นองค์ประกอบ ที่จำเป็น ทั้งสองอย่าง สำหรับ การเปลี่ยนแปลงโลก ถึงความคิด จะวิเศษเพียงใด ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็ไม่เป็นผลแน่นอน ทำนองเดียวกัน ลงแรงหนักเหนื่อย เพียงใด ก็สูญเปล่าได้ ถ้าทำโดย ไม่พิจารณา ตริตรอง ดีไม่ดี กลับสร้างความเสียหายเสียอีก

แม้ว่าการเปลี่ยนความเคยชินจะเป็นเรื่องยาก ทั้งที่เป็นความเคยชินที่ไม่ดี เราก็มักจะยอมแพ้ ปล่อยตัวเอง ให้จมปลัก อยู่กับ ความบกพร่อง เลวร้ายในตน เราจึงไม่พ้นโศกอยู่เช่นนี้

ใครเริ่มคิดและปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงโลก ยกมือขึ้น

(ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๐๖ มีนาคม - เมษายน ๒๕๔๖ ฉบับ...ย่อมโศกอยู่เช่นนี้)

+

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น