วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เรียนแบบฮาร์วาร์ด เรียนแบบโสเครติส

(Socratic method & Harvard style)

เมื่อ วานอ่านหนังสือพูดถึงการเรียนแบบโสเครติส (Socratic method) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีมาตั้งแตาสมัยกรีก โดยเรียกขื่อตาม โสเครติส นักปรัชญาชาวกรีก

วิธีการเีรียนการสอนแบบโสเครติส จะใช้ครูเป็นผู้ถามคำถามนักเรียน ให้นักเรียนคิดหาคำตอบเอาเอง ถือเป็นการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เด็กคิด ต่างจากการเรียนการสอนแบบlectureที่ถือว่าครุเป็นผู้มีความรู้มากกว่านัก เรียน ครูก็สอนในสิ่งที่ครูรู้โดยหวังว่านักเรียนจะเข้าใจในสิ่งที่ครูสอน แต่แบบโสเครติสจะให้มั่นใจได้มากกว่าว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เพราะนักเรียนต้องเป็นผู้สังเคราะห์วิเคราะห์คำตอบออกมาให้ได้เอง ถ้านักเรียนไม่เข้าใจ ก็ไม่มีทางทำได้อยู่แล้ว

คิดๆก็ไปก็เห็นว่ามัน ฟังดูค่อนข้าง idealistic เิกินไป จริงอยู่มันเป็นวิธีที่ดี แต่โรงเรียนที่ไหนจะทำได้จริง จำนวนนักเรียนก็มีเยอะแยะ ครูไม่มีเวลาที่จะทำอย่างนั้นได้ แต่คิดไปคิดมา ก็เพิ่งตระหนักได้ว่า ที่ม่อนเคยไปเรียนที่ฮาร์วาร์ดมา เขาก็สอนกันอย่างนี้จริงๆ

ม่อน เรียนปริญญาโทที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Graduate School of Education) ตอนแรกๆก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าที่นั่นจะสอนอย่างไง เพราะเราสงสัยมานานแล้วว่า มีแต่คนบอกว่าสอนแบบlectureไม่ดี ให้สอนเป็นchild-center ให้สอนแบบ hands-on เราก็อยากจะรู้ว่าที่ถูกมันทำอย่างไร เพราะที่เราเคยผ่านๆมาก็เห็นมีแต่็ให้ทำใบงาน ให้ทำโครงงาน ซึ่งมีแต่เปลีอกนอก ดีแต่copy-paste ดีแต่ ตัด-แปะ ดีแต่ตกแต่งให้สวยงาม (จนบางทีเคยสงสัยเหมือนกันว่า เรียนวิชางานประดิษฐ์ หรือเรียนวิทย์-คณิต กันแน่) ไม่เห็นจะได้คิดอะไรสักเท่าไหร่ แล้วคำถามอีกข้อที่อยู่ในใจคือ ถ้าคนเรียนไม่มีความรู้ เราจะสอนให้เขามีความรู้ได้ยังไง ถ้าไม่lecture นี่แหละได้โอกาสมาเรียนในมหาวิทยาลัยระดับโลก แถมเป็นคณะศึกษาศาสตร์ด้วย ยังไงก็คงจะสอนดีแหละน่า

แต่ละวิชา เอกสารประกอบการสอนเยอะมากๆๆๆๆๆๆ ถึงมากที่สุด มากเกินว่าที่คนปกติจะอ่านได้หมด (ถ้าอ่านทุกบรรทัดนะ) และเอกสารก็ไม่ใช่power pointด้วย เป็นบทความจากวารสารวิชาการ หรือไม่ก็เป็นบทที่ตัดมาจากหนังสือ บวกกับหนังสือประกอบการเรียนที่ต้องเอามาอ่านอีักไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ แล้วก็เห็นอาจารย์ก็ยังlecture อยู่ดี ตอนแรกๆก็แอบคิดเหมือนกันว่า ไอ้child-centerอะไรเนี่ย มันก็ดีแต่หลักการแหละว้า เอาเข้าจริง ยังไงก็ต้องlectureอยู่ดี

และแต่ละวิชาเรียนน้อยมาก ถ้าเทียบกับที่เราเคยเรียนที่จุฬา บางวิชาสัปดาห์ละ 2 คาบ บางวิชา 3 คาบ บางวิชาก็เยอะหน่อย 4 คาบ แต่ไม่เกินนี้ คือ ตารางเรียนน่ะไม่เยอะเลย เราก็เคยแอบคิดว่า จะคุ้มที่อุตสาห์ถ่อมาเรียนไหมเนี่ย ได้เจออาจารย์แค่แป๊บเดียวเอง ถึงแม้อาจารย์แต่ละคนจะมีชื่อเสียงระดับโลก แต่เรากลับได้เจอเขาแค่อาทิตย์ละไม่กี่ชั่วโมง เลยรู้สึกไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่

แต่พอเรียนๆไปถึงได้รู้ว่า จนประสงค์ของการเรียนที่นั่น คือใ้ห้นักศึกษาคิดอะไรขึ้นมาเองได้ ที่ให้เอกสารประกอบการเรียนไปเยอะๆ ก็เพราะให้เราเห็นสังเกต (ว่าข้อมูลไหนน่าสนใจ น่าจะเป็นประโยชน์) วิเคราะห์(ว่าอันไหนเชื่อถือได้มั่ง ข้อมูลไหนสำคัญ) สังเคราะห์(อ่านเรื่องเดียวกันจากหลายๆที่หลายๆคนเขียน ได้อะไรขึ้นมาใหม่ไหม)

และที่ต้องlecture ก็เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานในเรื่องที่จะเรียน แน่นอนว่านักเรียนต้องอ่านหนังสือมาด้วย และอาจารย์ไม่ได้lectureแบบเอาสิ่งที่อยู่ในหนังสือมา regurgitate (สำรอก)ให้ฟัง แต่อาจารย์จะพูดให้เราได้คิด ให้เราได้สงสัย และสอนแบบให้เราถามคำถาม ซึ่งบางคำถามอาจารย์ก็่ตอบไม่ได้หรอกนะ แต่ให้เป็นคำถามใ้ห้เราไปคิดต่อเอง

ส่วนงานที่ทำ ก็ไม่มีการให้เราต้องจำอะไรทั้งนั้น แต่งานแต่ละอย่าง ล้วนแล้วแต่ผลักดันให้เราต้องคิดสังเคราะห์อะไรขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็วิจารณ์สิ่งที่มีอยู่แล้ว อย่างม่อนเรียนออกแบบหลักสูตรโดยใช้ความรู้เรื่องสมองและการคิด (cognition and neuroscience) กว่าจะได้ออกมาแต่ละอย่าง ก็ต้องอ่านหนังสือหลายเล่มมาก เพื่อเอามายืนยันว่าสิ่งที่เราจะใช้ มีงานวิจัยรับรองแล้ว หรือไม่ก็แสดงว่าเราได้คิดมาอย่างดีแล้ว ว่ามันน่าจะได้ผล เรียกได้ว่า เขาไม่ได้ให้เราท่องจำ แต่เราก็จำได้ไปเอง เพราะต้องอ่านเยอะ คิดเยอะ จนติดหัว และก็น่าจะติดหัวมากกว่าท่องจำซะอีก เพราะการท่องมันshort-term memory ไม่นานก็ลิม แต่ถ้าเราคิดเอง ยังไงก็ไม่ลืมง่ายๆ

พออ่านถึง Socratic method เลยคิดได้ว่า ที่เราเรียนมาก็คล้ายอย่างนี้เหมือนกัน คือเน้นให้เราคิดให้เราสังเคราะห์เอง ไม่ได้ให้เรา่ท่องจำ

ก่อนไป เรียนม่อนคิดว่า จะไปเรียนเรื่องสมองกับการศึกษา กลับมาคงจำได้แม่นว่าโครงสร้างสมองเป็นอย่างไร แต่ละอย่างทำหน้าที่อะไร (ซึ่งจริงๆ ตอนเรียนหมอปีสองปีสามก็เคยท่องแล้วแหละ แต่อย่างที่บอกว่าท่องได้ ไม่นานก็ลืม) แต่พอกลับมา ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นซะทีเดียว เพราะเขารู้ว่าการท่องได้ว่าสมองมีอะไรบ้าง ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกลับการเอาไปใช้ จริงอยู่ที่ต้องรู้โครงสร้างหลักๆ ซึ่งแต่ละคนก็ไม่เห็นต้องท่อง ก็จำได้ เพราะต้องใช้เยอะในการอ่านในการทำงานกลุ่ม แต่ถ้าให้ไปบอกอะไรเป็ะๆเหมือนหมอประสาทวิทยา ก็คงจะไม่ได้ แต่สิ่งที่เราได้ พื้นฐานหลัก กรอบความคิดหลักที่จะเอาไปประยุกต์ทางการศึกษา ซึ่งม่อนว่าเป็นสิ่งที่แม้แต่หมอก็ไม่เข้าใจ เพราะคนที่จะเข้าใจได้ ต้องเข้าทั้งจิตวิทยาและการศึกษาด้วย หมอจะสนใจเรื่องชีววิทยา (biology) แต่ถ้าจะเอาไปใช้ทางการศึกษามันต้องมีอะไรมากกว่านั้น ไม่ใช่ว่าคลื่นในสมองบอกว่าดี แล้วเวลาเอาไปใช้จะดี เพราะการศึกษาประกอบด้วยปัจจัยทางสังคมหลายอย่าง ไม่ว่าจะวัฒนธรรม จิตวิทยา และอะไรอีกมากมาย

ฉะนั้นการสอนให้ท่องจำ ถึงไม่ใช่เรื่องหลักของที่นั่น เพราะเรียนการศึกษาไม่ต้องท่องจำอะไรมาก แต่เราต้องคิดเป็น ต้องเข้าใจหลักของมัน เราถึงจะทำได้ดี

ถึงม่อน ชื่นชอบวิธีการสอนที่นั่นขนาดไหน แต่ก็รู้ว่าเพราะเป็นการเรียนระดับปริญญาโทด้วย เขาถึงทำได้แบบนั้น การเรียนในระดับที่ต่ำกว่านั้น จำเป็นต้องมีบางเรื่องที่ต้องท่องจำจริงๆ หรือ บางเรื่องที่ต้องเน้นการส่งเสริมระเบียบวินัยด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องความคิดหรือความรู้อย่างเดียว

แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ม่อนก็อยากเห็นเราเอาวิธีการแบบนี้ไปใช้สอนในโรงเรียนมัธยมบ้านเราบ้าง ม่อนรู้ว่ายาก ตัวม่อนเองก็ยังทำไม่ได้ตลอดเวลา เพราะมันมีแรงกดดันเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีเรื่องเกรด และเรื่องอะไรสารพัดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้

ทุกวันนี้ หลายๆที่จะคิดว่า ถ้าใครสอนแบบlecture คือ แย่ คือสอนไม่เป็น ม่อนจะอยากเถียงนะ ว่าไม่จริงเลย ถ้าคนเรียนไม่เคยมีความรู้มาก่อน ยังไงlectureก็ต้องมี เพื่อให้ความรู้กับนักเรีัยน แต่ก็ต้องไม่หยุดอยู่แค่นั้น ถ้าทำได้ ต้องพยายามถามคำถามให้นักเรียนได้คิดด้วย

หลายๆครั้งที่เห็นบ้านเรา เปลี่ยนกระแสแบบสุดขั้ว คือ ไม่ซ้ายก็ขวา ไม่มีตรงกลาง คือถ้าใครไม่ชอบสอนแบบlecture ก็ไม่ชอบสุดๆ ฉันจะไม่ส่งลูกไปเรียนแบบนั้นเด็ดขาด พวกโรงเรียนเลยต้องพยายามทำทดลอง ทำโครงงาน ทำกิจกรรมอะไรให้มันดูดี เพื่อจะได้ทำให้เห็นว่า นี่ไง โรงเรียนเราไม่ได้มีแต่เรียนอย่างเดียวนะ ซึ่งเมื่อก่อนม่อนก็คิดว่าเรียนแบบ hands-on น่ะดีเสมอ แต่จากที่ไปเรียนที่ฮาร์วาร์ดมา พบว่าเรียนแบบทำกิจกรรมก็ไม่ใช่ว่าดีเสมอไป เพราะกิจกรรมก็มีทั้งแบบที่ได้คิด กับแบบที่ไม่ได้คิด (คือ แบบที่ภายนอกดูเหมือนสร้างสรรค์และสนุกแต่จริงๆไม่ได้เกี่ยวกับวิชาที่่่ เรียนเลย) ฉะนั้นก็ไม่ควรจะวางใจว่า มีกิจกรรมแล้วมันจะทำให้ลูกเราได้คิดเสมอไป คือไม่อยากให้มองว่าlectureเป็นevil ส่วนเรียนแบบทำกิจกรรมเป็นพระเจ้า เพราะจริงๆไม่ใช่แบบนั้น การเรียนแบบlectureก็ทำให้เด็กคิดได้ ถ้าครูรู้จักวิธีถามคำถาม

รู้สึกจะออกนอกเรื่องไปเหมือนกันแฮะ เอาเป็นว่า ม่อนรู้สึกว่าที่ฮาร์วาร์ดสอนให้เราได้คิดจริงๆ และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเอากิจกรรมเอาอะไรมาทำให้ตื่นตาตื่นใจตลอดเวลา แต่เขามีวิธีที่ทำให้เราได้คิดจริงๆ ซึ่งม่อนคิดว่้าเราน่าจะเอาแบบเขาเป็นตัวอย่างบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น