วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ด้านมืดของฟุตบอลอังกฤษ..

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lawker&group=4

ช่วงนี้มีข่าวใหญ่ข่าวนึงในอังกฤษ ซึ่งคงไม่ไปถึงเมืองไทย.. เพราะไม่ใช่ข่าวที่พูดถึงการย้ายทีมของสตาร์ดัง หรือข่าวการลุ้นแชมป์ของสองสามทีมยอดนิยม แต่พูดถึงปัญหาพื้นฐานร้ายแรงในวงการฟุตบอลของประเทศที่ขึ้นชื่อว่า "พัฒนาแล้ว" อย่างอังกฤษ ซึ่งผมว่าคนไทยควรได้รับรู้บ้างว่า ความสวยหรูในหน้าจอทีวีนั้นมีด้านมืดอันน่ากลัวไม่ใช่น้อยเหมือนกัน..

ปัญหาที่ผมจะเล่าคือเรื่อง "Youth Footballer Abuse" ซึ่งแปลเป็นไทยให้มีความหมายครบถ้วนลำบาก เลยขอไม่แปลละกัน

ต้น ตอของปัญหา คือผลประโยชน์มหาศาลในวงการฟุตบอลอังกฤษขณะนี้ อาชีพนักฟุตบอลเป็นอาชีพที่มีรายสูงมาก ในพรีเมียร์ลีกคงไม่ต้องพูดถึง แม้แต่ในลีกระดับรองๆ นักฟุตบอลก็ยังถือว่าได้รายได้สูง ทิ้งห่างอาชีพอื่นอย่างเทียบกันไม่ติด พ่อแม่คนอังกฤษที่มีลูกเล็กๆ ก็ฝันอยากให้เด็กเป็นนักฟุตบอลเพื่อช่วยเหลือครอบครัวกันทั้งนั้น

การ จะเป็นนักฟุตบอลในอาชีพอังกฤษได้ ต้องเริ่มตั้งแต่เล็กๆ อายุ 5-6 ขวบ พ่อแม่ก็จูงลูกเข้าสโมสรแถวบ้านกันแล้ว เช้าไปโรงเรียนเสร็จ บ่ายก็มาซ้อม ถ้าเล่นเก่งสู้เพื่อนๆ ไม่ได้ สักแปดเก้าขวบก็โดนคัดออกรอบแรก ที่เหลืออยู่ ถ้าใครแววดีหน่อย ก็จะโดนคัดไปอยู่สโมสรขนาดใหญ่ประจำเขต ผ่านไปสักพัก พอเด็กเข้ามัธยม ถ้าสู้เพื่อนในเขตไม่ได้ก็โดนโดนคัดออกอีกรอบ พวกที่ผลงานดี ก็ออกจากโรงเรียนไปเข้าระบบเยาวชนในสโมสรอาชีพต่อไป และโดนคัดออกอีกหลายรอบกว่าจะถึงทีมสำรองและทีมตัวจริง

วงการฟุตบอล เยาวชนในอังกฤษตอนนี้ เปรียบไปก็เหมืิอนเป็นการคัดสรรตามธรรมชาติอย่างโหดร้ายที่สุด แบบที่เค้าเรียกกันว่า หมากินหมา (dog eats dog) ที่น่าสงสารคือ ความกดดันจากระบบแพ้คัดออก เกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ อายุแค่หกขวบแปดขวบ ที่ควรอยู่ในโลกสดใส เล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนานบันเทิง หรือเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ควรต้องมาเจอกับความกดดันจากการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายของผู้ใหญ่

แม้ จะน่าสงสาร.. แต่ก็ยังพอเข้าใจได้ว่าโลกเรามันก็เป็นแบบนี้ ไม่มีที่ยืนให้ผู้แพ้ สโมสรก็อยากได้เด็กที่เก่งที่สุดไปสร้างต่อ.. เด็กที่ความสามารถไม่เท่าเพื่อนก็ต้องโดนคัดออก เสียใจผิดหวังเป็นธรรมดา และผันตัวไปทำอย่างอื่นต่อไป มีบ้างที่ไปประสบความสำเร็จด้านอิื่น มีบ้างที่สิ้นหวังหมดอนาคตไปเลย

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่เพียง แค่นั้น.. ต้นเหตุของความรุนแรงของปัญหา ไม่ได้อยู่ที่ตัวเด็ก แต่อยู่ที่ผู้ปกครอง (คนอังกฤษ) และโค้ชเยาวชนที่โดนกดดันให้ทำผลงาน มากที่สุด

1. เด็กมองฟุตบอลเป็นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน แต่พ่อแม่ชาวอังกฤษจำนวนมาก (โดยเฉพาะกลุ่มที่ฐานะไม่ดีนัก) กลับหวังให้ฟุตบอลเป็นทางรอดของครอบครัว จากการวิจัยล่าสุด มีเด็กเล็กๆ จำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคประสาทขั้นรุนแรง เพราะไม่สามารถรับมือจากความกดดันของพ่อแม่ได้ เด็กหลายคนโดนทำโทษเฆี่ยนตีอย่างหนักถ้าเล่นได้ไม่ดี และการโดนคัดออกจากสโมสรหมายถึงการหมดอนาคต โดนรังเกียจชิงชังจากครอบครัวและสังคม

2. ด้วยความที่เดิมพันนั้นสูงมาก พ่อแม่ยุคนี้สอนให้เด็กๆ เอาชนะ "โดยทุกวิถีทาง" เพื่อให้มีผลงานที่ดีเหนือกว่าคนอื่นๆ และอยู่รอดในสโมสรได้ไม่โดนคัดออก โค้ชและพ่อแม่ร่วมมือกันสอนให้เด็กๆ เล่นรุนแรงสกปรกเพื่อเอาชนะ และใช้คำหยาบคายด่าทอฝ่ายตรงข้าม ถ้าใครเคยไปดูฟุตบอลเยาวชน จะเห็นภาพน่าเศร้า ผู้ใหญ่จำนวนมากตะโกนคำหยาบคายใส่เด็กเล็กๆ ที่เล่นทีมฝั่งตรงข้ามกับลูกตัวเอง

3. ถ้าเด็กคนไหนเล่นได้โดนเด่นกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกันมาก เด็กคนนั้นมักจะเป็นเป้าทั้งของเพื่อนและพ่อแม่เด็กคนอื่น ที่จะต้อง "กำจัดทิ้ง" เพราะถือว่าทำให้ตัวเองและลูกตัวเองมีโอกาสได้เป็นนักุฟุตบอลอาชีพน้อยลง มีทั้งการแอนตี้เลิกคบ การแกล้งกันทางกายและทางใจอย่างรุนแรง (Bullying) เพื่อให้เด็กคนนั้นเล่นห่วยลงหรือให้เลิกเล่นฟุตบอลไปเลย

4. อันนี้น่าเศร้าที่สุด (เพิ่งดูสกูปจาก BBC เมื่อตะกี้) ผู้ปกครองเด็กหลายคนทำถึงขนาดไปแอบซุ่มทำร้ายเด็กคนอื่นๆ ที่เล่นเก่งกว่าลูกตัวเอง โดยกระทืบให้ขาหัก ข้อเท้าหัก เพราะกลัวว่าลูกตัวเองจะโดนคัดออกไม่ได้เซ็นสัญญากับสโมสรอาชีพ..

ที่ เขียนมานี่ ผมเอามาจากสกูปในทีวีสองสามวันนี้ เป็นด้านมืดของวงการฟุตบอลอังกฤษที่ปกติเราไม่รู้กัน เอามาเล่าให้รู้กันอีกด้านนึงว่า กว่าจะมาเป็นนักฟุตบอลที่เราเห็นในที่วีนี่ แต่ละคนต้องฟันฝ่ามามากขนาดไหน และไม่แน่ด้วยว่านักเตะหลายคนที่เราชื่นชอบ สมัยเป็นเยาวชนอาจจจะเคยกระทืบเพื่อนๆ ตัดคู่แข่งกันมาแล้ว..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น