วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกทีมที่ทำงาน ด้วยกัน ในเรื่องของการปรับปรุงระบบการทำงานในบริษัทให้ดีขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นมา
โดยที่ผมเองก็ถามแต่ละคนว่า อยากจะเห็นหน่วยงานของเรา หรือบริษัทของเราเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในทางทีดีขึ้น ผลที่ได้ก็คือ
ผมได้คำตอบมาเยอะแยะมากมาย เช่น “อยากให้บริษัทเราเจริญรุ่งเรือง”
“อยากให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น” “อยากขยายสาขาออกไปยังต่างประเทศ”
“อยาก เป็นที่หนึ่งในธุรกิจนี้” ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นความคิดที่ดี และน่าทำทั้งนั้น เนื่องจากว่าเป็นการพัฒนาจากของเดิมที่มีอยู่ให้มันดีขึ้น

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นในที่ประชุมก็คือ จะมีคนอยู่ -1-2 คน
ที่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น แถมยังชอบวิจารณ์ความคิดเห็นคนอื่นในทางลบอีกต่างหาก และมักจะมีคำพูดอออกมาจากปากพนักงาน 1-2 คนนี้ว่า
“มันเป็นไปไม่ได้หรอก” หรือ
“ผมว่าความคิดคุณมันเกินจริงไปหน่อยนะ แค่ทำแบบแบบที่เป็นอยู่นี้ยังยากเลย” หรือ
“ไม่ได้หรอก!! ผมว่าสิ่งที่คุณเสนอมันผิดหลักการทำงานแบบเดิมๆ ของเรานะ ไม่มีใครเคยทำแบบนั้นมาก่อนเลยนะครับ”

ผมนั่งฟังการประชุมแล้วก็แอบจดเอาคำพูดของลูกทีมมานั่นแค่ตัวอย่างเล็กๆ เท่านั้น หลังจากที่เถียงกับไปมาอยู่พักใหญ่ ผมก็ยุติการถกเถียงกัน โดยเริ่มถามคำถามทุกคนในที่ประชุมโดยให้ทุกคนตอบตามความรู้สึกที่แท้จริงของ ตัวเอง

“คำถามแรกที่ผมจะถามพวกเราก็คือ พวกเราอยากให้บริษัทของเราอยู่รอด และเจริญก้าวหน้า ต่อไปใช่หรือไม่ ? “
คำตอบที่ได้มา 100% เต็มก็คือ “ใช่”
“แล้วพวกเราอยากจะทำงานแบบเดิมๆ ไปวันๆ โดยไม่ได้รับการพัฒนาเลยใช่หรือไม่?”
คำตอบที่ได้รับมา 100% ก็คือ “ไม่ใช่”

“ในเมื่อทุกคนอยากให้บริษัทก้าวหน้าเติบโต แต่ทำไมยังมีบางคนตั้งหน้าตั้งตาค้านในสิ่งที่เสนอ มาล่ะครับ” ผมโยนคำถามเข้ากลางที่ประชุม

“ผม ไม่ได้ค้านะครับพี่ แต่ลองพิจารณาดูถึงความเป็นจริงสิครับ ผมว่ายังไงเราก็ทำตามนั้นไม่ได้ เพราะไอ้แค่สิ่งที่เราทำอยู่ยังทำได้ไม่ดีเลย แล้วจะทำอะไรเพิ่มอีกละครับ” พนักงานทีค้านเริ่มให้เหตุผล

“แต่สิ่งที่ดิฉันเสนอนั้นเป็นระบบงาน ใหม่ที่จะทำให้สิ่งที่เราทำอยู่เดิมๆ นั้นได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น แถมพวกเราเองก็จะสบายมากขึ้นด้วยนะคะ” เจ้าของไอเดียชี้แจง

“มันก็ จริง แต่ผมว่าเราจะเหนื่อยขึ้น แถมยังไม่รับประกันด้วยว่า สิ่งที่ทำใหม่นั้นจะสำเร็จได้เมื่อไร” ฝ่ายค้านพูด “ทำไมเราไม่รอให้พร้อมก่อนล่ะครับ”

ผมก็เลยถือโอกาสแทรกตัวเข้าไปในการถกเถียงอีกครั้งหนึ่งว่า
“ถ้า พวกเราอยากให้บริษัทดีขึ้น อยากให้บริษัทพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น แต่พวกเรากลับไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย แล้วบริษัทเราจะดีขึ้นตามที่เราคิดไว้จริงหรือ
การที่เราทำงาน หรือทำทุกอย่างเหมือนเดิมทุกวันๆ ๆ วันแล้ววันเล่า แต่กลับคาดหวังในสิ่งที่ดีขึ้น
ก้าวหน้าขึ้น ผมว่าผลที่เราต้องการยังไงมันก็่เกิดขึ้นไม่ได้เลย” ผมพูดต่อ

“สิ่ง ที่เราต้องทำก็คือ เมื่อเรามีความคิดอยากพัฒนา อยากให้บริษัทก้าวหน้า สิ่งที่พวกเราจะต้องร่วมกันทำก็คือ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ
บางคน อาจจะต้องเริ่มศึกษาระบบงานใหม่ บางคนอาจจะต้องยอมที่จะตื่นเช้าหน่อย บางคนอาจจะต้องกลับบ้านดึกอีกนิดนึง แต่สิ่งที่ทำไปนั้นก็แค่ระยะเริ่มต้นเท่านั้น
พอระบบเสร็จแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทุกคนจะทำงานได้อยากสบายขึ้น โดยให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม”

ที่ ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ ต้องการให้ท่านผู้อ่านเห็นประเด็นเดียวก็คือ การที่เราอยากจะก้าวหน้าอยากเก่ง อยากพัฒนา อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยากรวย อยากมีเงินเดือนเยอะๆ ฯลฯ ความต้องการหรือความอยากทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมาย
และ การไม่ต้องการอยู่นิ่งกับที่ แต่หลังจากที่เราอยากเป็น อยากทำ แล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ถ้าเรายังคงการกระทำทุกอย่างเหมือนเดิมใช้ชีิวิตแบบเดิมๆ
เช่น ตื่นสายเหมือนเดิม ไม่อ่านหนังสือเหมือนเดิม ขึ้เกียจเหมือนเดิม
ยังนั่งหน้าทีวีเหมือนเดิม ฯลฯ แต่เรากลับคาดหวังในสิ่งที่ไม่เหมือนเดิม ผมถามว่า
มันจะเป็นไปได้หรือไม่ หรือเป็นไปได้มากขนาดไหนครับ

สรุปก็คือ ถ้าอยากให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า หรือมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
สิ่ง ที่เราต้องทำให้ได้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเราเอง เราต้องเลือกทางเดินใหม่ที่ไปสู่เป้าหมายของเรา เช่น เลือกที่จะไม่ดูทีวี เพื่ออ่านหนังสือมากขึ้น เลือกที่จะตื่นเช้า เพื่อที่จะได้ออกกำลังกาย เลือกที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะได้ผลงานที่ดีขึ้น และได้เงินเดือนขึ้นตามมา เป็นต้น

ชีวิตเราเอง เราเลือกได้นะครับ อยากให้ความสบายมาเป็นอุปสรรคในเป้าหมายของเรานะครับ สุดท้ายผมอยากฝากคำพูดของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งไว้ครับ

“The definition of insanity is doing the same thing over and over again and expecting deferent results”
Albert Einstein

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hrman&month=01-2008&date=07&group=2&gblog=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น