วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชีวิตจริงไม่ใช่ทฤษฎี

ชีวิตจริงไม่ใช่ทฤษฎี

บางคนอาจจะบอกว่าชีวิตจริงไม่ใช่นิยาย
แต่อย่าลืมว่านิยายบางทีก็เอามาจากชีวิตจริง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ชีวิตของใครบางคนจะเหมือนนิยายจริง ๆ

ทว่าการที่บอกว่าชีวิตจริงไม่ใช่ทฤษฎีน่าจะดูเหมาะสมกว่า
เนื่องจากทฤษฎีคือการสรุปรวบยอดความคิดให้เป็นรูปธรรมแล้ว
แต่มันคิดคำนึงถึงเรื่องเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น และตัดส่วนที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องไปเสียหมด

ซึ่งส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้เอ่ยถึงในทฤษฎีนี่แหละ ที่จะทำให้ทำอย่างทฤษฎีไม่ได้

ถ้าพูดถึงทฤษฎี ก็ลองดูตัวอย่างทฤษฎีการเมืองการปกครองดู
ทฤษฎีแบบคอมมิวนิสต์ ที่จริงผู้ที่เอามาใช้เพราะคิดว่ามันน่าจะดีจริง ถึงได้เลือกเอามาใช้
แต่พอเอามาใช้จริง กลับกลายว่าเป็นหนึ่งในการปกครองที่หลายคนเชื่อว่าเลวร้ายเลยก็ว่าได้

เพราะมันไม่ได้พูดถึงเรื่องที่ต้องพูด พูดถึงความเสี่ยงที่ต้องควบคุม
เช่นผู้นำที่ใช้ไม่ได้มีศีลธรรม จริยธรรมที่ดี สุดท้ายคอมมิวนิสต์ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ดีไป
โค่นล้มระบอบกษัตริย์และทำให้ทุกคนเท่าเทียมไร้ซึ่งชนชั้น
แต่ท้ายที่สุดผู้นำที่กุมอำนาจความเป็นความตายของประชาชนก็ยังอยู่ ความเท่าเทียมก็หาได้มีจริง

ประชาธิปไตยเองก็เช่นกัน ลองดูดี ๆ ว่ามีบางประเทศ(?)ที่ใช้ประชาธิปไตยเองก็จริง แต่มันก็ยังมีปัญหาอยู่
คุณอาจจะบอกว่ามันเป็นประชาธิปไตยไม่แท้ก็ได้
แต่อย่าลืมว่า การที่มันไม่แท้นั้น เพราะวิถีของสังคมนั้นไม่สามารถเข้าได้กับทฤษฎีการปกครองแบบประชาธิปไตย
ต่างหาก


คราวนี้ลองย้อนมาในเรื่องใกล้ตัว เช่นการทำงาน
โดยการทำงานคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดไม่ได้ถึงสามเรื่องนี้

ต้นทุน-คุณภาพ-เวลา

มีหนังสือหลายเล่มที่พูดถึงเรื่องนี้ว่าจะทำยังไงให้ทั้งสามสิ่งนี้ออกมาให้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
แต่แทบทุกเล่มในนั้น กลับไม่ได้บอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทั้งสามสิ่งสมบูณณ์พร้อมสรรพไปได้พร้อม ๆ กัน

เช่นคุณต้องการทำวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่ง
คุณต้องการทำวิทยานิพยนธ์นี้ให้เปลืองต้นทุนน้อยสุด คือ ต้องการความสบาย เก็บข้อมูลไม่มาก
ไม่ต้องการพิมพ์เยอะ และไม่เปลืองเงิน
แต่คุณก็ยังคงต้องการเวลา คือต้องการทำให้มันเสร็จทันในเวลาเส้นตาย
และต้องการคุณภาพ ที่ทำให้วิทยานิพนธ์นั้นดีน่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงที่ดี สรุปผลยอดเยี่ยม

คุณจะพบได้ว่า เวลาทำจริง แม้คุณจะต้องการทั้งสามอย่างพร้อมกัน แต่มันไม่สามารถจะทำได้
หากคุณรักสบาย จะกลายเป็นว่า คุณต้องใช้เวลาในการทำมาก และคุณภาพที่ได้จะต่ำ
หากคุณต้องการทำให้มันเสร็จเร็ว คุณต้องเปลืองแรงมากขึ้น ใช้คนอื่นมาเป็นตัวช่วยมากขึ้น คุณภาพน้อยลง
หากคุณต้องการคุณภาพ คุณก็จะต้องใช้เวลามากขั้น และข้อมูลหรืออะไรต่าง ๆ ที่มาใช้จะต้องมีมากขึ้น

ดังนั้นจึงทำให้คุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดดยต้องทิ้งอย่างที่เหลือไป
บางทีคุณอาจจะไม่ได้เลือกที่คุณภาพอย่างเดียว แต่กลับต้องเลือกเวลา หรือต้นทุน แทน

ปล. ต้นทุนในที่นี้อาจจะหมายถึงเงินก็ได้

โดยคุณก็รู้อยู่แล้ว ว่ามันเป็นอย่างนี้
แต่ทำไมไม่รู้ในหนังสือหรือทฤษฎีทั้งหลายที่เรียนในห้องเรียน กลับดันไม่ได้บอกเสียอย่างนั้น

ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น ทฤษฎีทั้งหลายก็เช่นกัน
กล่าวถึงแต่ข้อดี และสิ่งที่มันเกี่ยวข้อง แต่กลับตัดความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะทำให้มันไม่เป็นไปตามทฤษฎีเสียไปหมด

ดังนั้นจะรู้แค่ทฤษฎี แล้วนำมาใช้จริงเลยโดยจะให้มันถูกต้องตามนั้นคงเป็นไปไม่ได้
แต่ต้องเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการใช้ในชีวิตจริงไปเรื่อย ๆ เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น