วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระยะไมล์บก/ทะเล

ทำไมระยะ ไมล์บก กับ ไมล์ทะเลความยาวไม่เท่ากันครับ
อันนี้ อ่านแล้วน่าจะเข้าใจง่ายที่สุด

http://www.crma52.com/Agreement_view.php?q_id=3972&kind=12&secure2=0

ไมล์ บก คือระยะทางที่เราเดินไปบนพื้นได้ หนึ่งพันก้าว มันก็เกิดปัญหาสิครับว่าก้าวใคร หรือก้าวของคนสมัยไหน คนสมัยก่อนกับคนสมัยนี้ก็ไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าเพื่อให้เกิดความง่าย สรุปว่า หนึ่งไมล์ มีค่าเท่ากับ ๑,๗๖๐ หลา หรือ ๕,๒๘๐ ฟุต (ก็แล้วมันเท่าไหร่ล่ะ) หนึ่งหลา คือระยะจากปลายจมูกถึงปลายนิ้วหัวแม่มือของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๑ ขณะยืดแขนไปข้างหน้าจนสุด กำมือไว้แล้วยกนิ้วหัวแม่มือขึ้น(บางตำราบอกว่าเป็นระยะรอบพระองค์) หนึ่งฟุต คือความยาวพระบาทของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (ถึงเรียกว่า foot ไงล่ะ) หนึ่งนิ้ว คือความยาวของข้าวบาเลย์สามเมล็ดเรียงกัน
ระยะหนึ่งไมล์นั้น เทียบเป็นกิโลเมตรได้เท่ากับ ๑.๖๐๙๓๔๔ กิโลเมตร (ประมาณ ๑.๖ กม.)

ส่วน ไมล์ทะเลนั้นมีที่มาจากไมล์บกนั่นแหละ ครับ เนื่องจากอยู่บนบกนั้นทุกอย่างอยู่นิ่งกับที่ แผ่นดินก็อยู่นิ่งกับที่ ต้นไม้ ตึกรามบ้านช่องก็อยู่นิ่งกับที่ สามารถกะประมาณด้วยสายตาได้ แต่ในทะเลนั้นไม่มีอะไรให้กะประมาณได้แม้แต่พื้นน้ำก็ไม่อยู่นิ่งกับที่ การจะนำหน่วยไมล์ไปใช้ในทะเลจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนนิดหน่อย โดยการวาดเส้นสมมติรอบโลกบริเวณเอวหรือส่วนที่อ้วนที่สุดของโลก เรียกว่า great circle หรือเส้นศูนย์สูตร แล้วแบ่งวงกลมเส้นนี้ออกเป็น degree ได้ ๓๖๐ degree หรือ ๓๖๐ องศา ในทุกๆ degree ก็แบ่งออกเป็น ๖๐ minute หรือ ๖๐ ลิปดา และในทุกๆ minute ก็แบ่งออกเป็น ๖๐ second หรือ ๖๐ ฟิลิปดา
ระยะ ทางระหว่างเส้นลิปดาสองเส้น หรือระยะหนึ่งลิปดา เท่ากับประมาณ ๑,๘๕๓.๑๘๔ เมตร (ประมาณ ๑.๘๕ กม.) ถือเป็นเส้นอ้างอิงในแผนที่เดินเรือที่ใกล้เคียงกับไมล์บกที่สุด จึงเรียกระยะใหม่นี้ว่า "ไมล์ทะเล"

ที่ประหลาดคือ หนึ่งไมล์ทะเลของอังกฤษเท่ากับ ๑.๘๕๓๑๘๔ กิโลเมตร
แต่หนึ่งไมล์ทะเลของอเมริกันนั้น เท่ากับ ๑.๘๕๒ กิโลเมตร

เอ๊ะมันยังไง

เนื่อง จากการวัดเส้นรอบวงนั้นขึ้นอยู่กับรัศมีของโลก ก็ไม่ทราบว่าการวัดเส้นศูนย์สูตรของสองประเทศนี้ใช้ความยาวรัศมีเดียวกันรึ เปล่า ทราบเพียงแต่ว่าการสร้างเส้นสมมติของอังกฤษนั้นใช้การเดินเรือรอบโลกแล้ววาง หมุดหลักฐานไว้ที่ประเทศที่เป็นอาณานิคมของตนเอง

ส่วนอเมริกานั้น ใช้การส่งดาวเทียมออกไปโคจรรอบโลกแล้วใช้ดาวเทียมสร้างเส้นสมมติให้

นอกจากนั้น ระยะหนึ่งเมตรก็มีผลเช่นกัน ของอังกฤษใช้เส้นศูนย์สูตรทั้งหมด ๓๖๐ องศา แบ่งเป็น ๔๐ ล้านส่วน หนึ่งส่วนเท่ากับหนึ่งเมตร

ส่วนของอเมริกันนั้น ในยุค ๑๘๐๐ ใช้ระยะจากเส้นศูนย์สูตร จนถึงขั้วโลกเหนือ ๙๐ องศา แบ่งเป็น ๑๐ ล้านส่วน หนึ่งส่วนเท่ากับหนึ่งเมตร
ฟัง ดูเหมือนจะเท่ากันนะครับ แต่อย่าลืมว่าโลกเราดูเหมือนจะกลม แต่ไม่กลมนะครับ เส้นศูนย์สูตรกับเส้นที่ผ่านขั้วโลกยาวไม่เท่ากันนะครับ
พอปี ๑๙๖๐ ระยะหนึ่งเมตร คือความยาวเท่ากับระยะระหว่าง เส้นสองเส้น บนแท่ง platinum-iridiumbar
ในช่วงปี ๑๙๖๐-๑๙๗๐ ระยะหนึ่งเมตร คือ ๑,๖๕๐,๗๖๓.๓ เท่าของความยาวคลื่นแสงสีส้มแดง จากหลอด krypton-86
พอมาปี ๑๙๘๓ ระยะหนึ่งเมตร คือระยะที่แสงเดินทางในสุญญากาศ เป็นเวลา เศษ ๑ ส่วน ๒๙๙๗๙๒๔๕๘ วินาที

สรุป ครับ หนึ่งไมล์ เท่ากับ ๑.๖ กิโลเมตร หนึ่งไมล์ทะเล คือระยะ หนึ่งลิปดา ในแผนที่เดินเรือ หรือแผนที่เดินอากาศ เท่ากับ ๑.๘๕ กิโลเมตรครับพี่น้อง.....

+

ขยาย.... = nautical mile

http://en.wikipedia.org/wiki/Nautical_mile

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น